covid-19 คืออะไร
-โรคโควิด 19 คือโรคติดต่อซึ่งเกิดจากไวรัสโคโรนาชนิดที่มีการค้นพบล่าสุด
-ไวรัสและโรคอุบัติใหม่นี้ ไม่เป็นที่รู้จักเลยก่อนที่จะมีการระบาดใน เมืองอู่ฮั่น
-ประเทศจีนในเดือนธันวาคมปี 2019 ขณะนี้โรคโควิด19 มีการระบาดใหญ่ไปทั่ว ส่งผลกระทบแก่หลาย ประเทศทั่วโลก
ต้นกําเนิดของไวรัส
-ต้นตอของไวรัสน่าจะมาจากการที่ไวรัสจากสัตว์ตัวกลางระบาดมาสู่คน
-ผู้ป่วยรายแรกเท่าที่ทราบกัน เริ่มมีอาการตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคมและไม่มีความเชื่อมโยงกับตลาดต้องสงสัยในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน แต่ผู้ป่วย หลายรายอาจมีมาตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนหรือก่อนหน้านั้น
-มีการเก็บตัวอย่างจากสิ่งแวดล้อมในตลาดไปส่งตรวจและพบเชื้อไวรัสและพบมากที่สุดในบริเวณที่ค้าสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงในฟาร์ม
-ตลาดอาจเป็นต้นกําเนิดของไวรัส หรืออาจมีบทบาทในการขยายวงของ การระบาดในระยะเริ่มแรก
การแพร่เชื้อ
-โรคโควิด 19 นี้ โดยหลักแล้ว แพร่จากคนสู่คนผ่านทางฝอยละอองจาก จมูกหรือปากซึ่งขับออกมาเมื่อผู้ป่วยไอหรือจาม เรารับเชื้อได้จากการหายใจเอาฝอยละอองเข้าไปจากผู้ป่วย หรือจากการเอามือไปจับพื้นผิวที่มีฝอยละอองเหล่านั้นแล้วมาจับตามใบหน้า
-ระยะเวลานับจากการติดเชื้อและการแสดงอาการ (ระยะฟักตัว) มีตั้งแต่ 1 – 14 วัน และมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 5-6 วัน เกิน 97% ของผู้ป่วยเริ่มมีอาการ ภายใน 14 วัน
-การเพิ่มจํานวนของไวรัสเกิดขึ้นในระบบ ทางเดินหายใจส่วนบนและในปอด มีงานวิจัยในช่วงแรกระบุว่า การเพิ่มจํานวน ของไวรัสได้ในระบบทางเดินอาหารแต่การติดต่อโดยระบบทางเดินอาหารยังไม่เป็นที่ยืนยัน
-ช่วงพีคของการแพร่เชื้อน่าจะเกิดขึ้นในช่วงแรกที่แสดงอาการและลดลงหลังจากนั้น
-การแพร่เชื้อก่อนแสดงอาการอาจเกิดขึ้น ได้อย่างไรก็ตาม หากไม่มีอาการไอ ( กลไกหลักในการขับไวรัสออกมา ) อาจจํากัดการแพร่เชื้อในช่วงนั้น
อัปเดตสถานการณ์ covid-19
ประเทศไทย (อัปเดตวันที่ 11/4/2564)
-ติดเชื้อแล้วสะสม 31,658 (ติดเชื้อเพิ่ม 789)
-กำลังรักษาตัว 3,400 (เพิ่ม 756)
-หายแล้ว 28,161(เพิ่ม 33)
-เสียชีวิต 97 (เพิ่ม 1)
สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลก
วันอาทิตย์ที่ 11 เมษายน 2564 เวลา 10.00 น.
ยอดผู้ติดเชื้อรวม 136,002,033 ราย
อาการรุนแรง 102,598 ราย
รักษาหายแล้ว 109,362,892 ราย
เสียชีวิต 2,939,054 ราย
อันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด
1. สหรัฐอเมริกา 🇺🇸 จำนวน 31,869,980 ราย
2. บราซิล 🇧🇷 จำนวน 13,445,006 ราย
3. อินเดีย 🇮🇳 จำนวน 13,355,465 ราย
4. ฝรั่งเศส 🇫🇷 จำนวน 5,023,785 ราย
5. รัสเซีย 🇷🇺 จำนวน 4,632,688 ราย
การรักษา
ประเทศไทยได้นำเข้าวัคซีน 2 ชนิด
1.วัคซีนป้องกันโควิด-19 แอสตร้าเซนเนกา (COVID-19 Vaccine AstraZeneca) เป็นวัคซีนแบบ Viral Vector ฉีดในผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ฉีดเข้ากล้ามครั้งละ 0.5 มิลลิลิตร (แนะนำให้ฉีดบริเวณต้นแขน) โดยฉีดทั้งหมด 2 ครั้ง ครั้งที่ 2 ฉีดห่างจากครั้งแรก 4 – 12 สัปดาห์
2.CoronaVac หรือ Sinovac COVID-19 vaccine เป็นวัคซีนเชื้อตาย (Inactivated Vaccine) ฉีดในผู้ที่มีอายุ 18 – 59 ปี โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อครั้งละ 0.5 มิลลิลิตร (แนะนำให้ฉีดบริเวณต้นแขน) โดยฉีดทั้งหมด 2 ครั้ง ครั้งที่ 2 ฉีดห่างจากครั้งแรก 2 – 4 สัปดาห์ (ผู้ที่อยู่บริเวณความเสี่ยงสูงหรือระบาดรุนแรงแนะนำให้ฉีดครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งแรก 2 สัปดาห์)
***เมื่อฉีดวัคซีนทั้ง 2 ชนิดในครั้งแรกแล้ว ควรมารับวัคซีนครั้งที่ 2 ให้ครบถ้วนตามกำหนดเพื่อประสิทธิภาพที่ดีในการป้องกันโรค ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลประสิทธิภาพการฉีดวัคซีนครั้งที่ 1 และ 2 คนละชนิดกันได้ผลเป็นอย่างไร จึงยังไม่มีคำแนะนำในการสลับการฉีดคนละยี่ห้อ และยังไม่มีข้อมูลว่าควรฉีดกระตุ้นภูมิเมื่อใดหลังจากฉีดวัคซีนครบ 2 ครั้งแล้ว
บทความที่น่าสนใจ